สเตนเลสสตีลนั้นต่างกับเหล็กตรงที่มีการเพิ่มธาติโครเมี่ยมผสมอยู่มากกว่า 11 เปอร์เซนต์ และจำนวนธาตุอื่นๆคือ นิเกิ้ล, โมลิดินั่ม, และคาร์บ่อน
โดนสเตนแลสชนิดต่างๆได้แบ่งออกตามจำนวนธาตุที่ผสมอยู่ในแผ่นสเตนเลส
สเตนเลสสตีลแบ่งๆเป็นหลักๆอยู่ 5 ประเภทด้วยกันได้แก่
1. Ferritic Stainless Steel (Plain Chromium Steel) ในสเตนเลสสตีลชนิดนี้มี โครเมี่ยมผสมประมาณ 12-18 เปอร์เซนต์และมีคาร์บ่อนต่ำมาก เช่น 430 หรือ 409
-แม่เหล็กสามารถดูดติดได้
-เชื่อมไม่ดี
-ทนต่อการกัดกร่อนปานกลาง
-ไม่สามารถทำ heat treatment ได้
2. Martensitic Stainless Steel มีปริมาณคาร์บ้อนสูง เช่น เกรด 420 หรือ 420C
-แม่เหล็กดูดติดได้
-สามารถทำ heat treatment ได้
-เชื่อมไม่ดี
-ทนต่อการกัดกร่อนปานกลาง
3. Austenitic Stainless Steel บางกลุ่มเรียกว่า 18/8 เนื่องจากมีส่วนผสมของโครเมี่ยม 18 เปอร์เซนต์และนีเกิ้ล 8 เปอร์เซนต์ สเตนเลสประเภทนี้นิยมใช้ในทางการแพทย์เนื่องจากสามารถทำความสะอาดได้ดีและถูกสุขอนามัย เช่น เกรด 304 ซึ่งมีความนิยมใช้มากที่สุด
-เชื่อมได้ดีเยี่ยม
-สามารถดัดขึ้นรูปได้
-ทนการกัดกร่อนได้ดีเยี่ยม
-มีสรรมถนะดีในอุณหภูมิต่ำและสูง
-แม่เหล็กดูดไม่ติด
-สามารถทำความสะอาดได้ดี ถูกตามสุขลักษณะ
4. Duplex Stainless Steel มีปริมาณโครเมี่ยม 18-28 เปอร์เซนต์มีปริมาณนิเกิ้ลปานกลางและมีเสริมธาตุโมลิดินั่ม เช่นเกรด 2205
-เชื่อมได้ดี
-ขึ้นรูปได้ดี
-ทนทานต่อกรด Chloride เป็นพิเศษ
-ทนทานต่อการกัดกร่อนได้ดีเยี่ยม
– แม่เหล็กดูดไม่ติด
-มีความแข็งกว่า Ferritic และ Austenitic Stainless Steel
5. Precipitation Stainless Steel สเตนเลสสตีลแบบพิเศษ ที่นำจุดเด่นด้านการกัดกร่อนของ Austenitic และ Martensiticที่ทำ heat treatment ได้มารวมกัน
– แม่เหล็กดูดติดได้
-เชื่อมได้ดี
-แข็งมาก
-ทนต่อการกัดกร่อนปานกลาง
จะเห็นได้ว่าสเตนเลสแต่ละประเภทมีความแตกต่างกัน และมีสเตนเลสที่แม่เหล็กสามารถดูดติด ทั้งนี้ทั้งนั้นเกรด นิยมใช้มากที่สุดยังคงเป็นเกรด 304
เฟอร์นิเจอร์จากบริษัทเจคลาส คอมเมอเชี่ยลผลิตโดยเกรด 304 ทั้งหมด